COBIT กับการวางแผนกลยุทธ์ IT

องค์กรธุรกิจระดับสากลจึงได้นำแนวคิดการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีหรือที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่า “ไอทีภิบาล” (IT Governance) มาปรับใช้เป็นแนวทาง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กรว่าจะสามารถบริหารจัดการกระบวนการทำงานทางด้านไอทีให้มีความสอดประสานกับวัตถุประสงค์ขององค์กร (IT Alignment)

Sunday, July 17, 2011

การบริหารจัดการองค์กรธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี ถูกกำหนดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยปีพ.ศ. 2549 เรียกว่า หรือ ”หลักบรรษัทภิบาล” หรือ “หลักการกำกับดูแลกิจการ” ปัจจุบันมักนิยมใช้คำว่า “หลักธรรมาภิบาล” มาจากคำว่า Corporate Governance (ที่มา: บรรษัทภิบาลแห่งชาติ (National CG Committee)) ดังนั้นในหนังสือฉบับนี้ จะขอใช้คำว่า “หลักธรรมาภิบาล” หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างยอมรับนำมาเป็นกรอบในการบริหารจัดการองค์กรมุ่งเน้นให้องค์กรนั้นๆ ดำเนินกิจการงานเพื่อประโยชน์ 3 มุมมอง ดังต่อไปนี้

1. ทำให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) ในการดำเนินงานมากขึ้น เนื่องจากบรรษัทภิบาลเป็นเครื่องมือช่วยตรวจสอบการทำงานด้านต่างๆ ขององค์กร ซึ่งทำให้เกิดแนวทางในการ เสนอข้อคิดเห็นให้กับองค์กรเพื่อปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงาน

2. ทำให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) เนื่องจากบริษัทที่มีบรรษัทภิบาล ที่ดีจะทำให้เกิดรูปแบบกิจการที่เป็นที่ยอมรับว่า มีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เป็นสากล ซึ่งจะทำให้มี คุณลักษณะเหนือกว่าผู้อื่นทั้งในเรื่องกลยุทธ์ และการจัดการ

3. เพิ่มความเชื่อมั่นแก่ผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholders Confidence) ว่าบริษัทมีความโปร่งใส ในการบริหาร จัดการที่จะช่วยป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จาก กรรมการและฝ่ายจัดการ กล่าวคือ หากไม่มีบรรษัทภิบาล ที่ดี ผู้ที่เกี่ยวข้องก็ไม่อยากที่จะเสี่ยงกับบริษัทสามารถปฏิบัติงานได้มีทำให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) ในการดำเนินงาน

CG

Text Box: •	ผู้ถือหุ้น •	คณะกรรมการ •	พนักงาน •	คู่ค้า ลูกค้า •	ประชาชน สังคม •	ประเทศ

ดัดแปลงจากประโยชน์ของ CG จากบรรษัทภิบาลแห่งชาติ (National CG Committee)

จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของการที่องค์กรมีธรรมาภิบาลที่ดีสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจอย่างยิ่ง ซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีดังกล่าวได้รับการยอมรับยึดถือเป็นหลักประกันความมั่นใจให้กับหน่วยงานในประเทศไทยเช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ได้ใช้เป็นกรอบปฏิบัติที่ให้องค์กรภายใต้การกำกับยึดถือเป็นกรอบในการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เพราะหลักการดังกล่าวประกอบไปด้วยเรื่องที่ครอบคลุมกระบวนการที่เกี่ยวข้องครอบคลุมทุกส่วนของการดำเนินธุรกิจ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนได้เสียและยังช่วยสร้างความอย่างยั่งยืนและมั่นคงต่อไป ภายใต้สภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจที่ตกต่ำได้

a. กรอบดำเนินการจัดการทรัยพากรไอที ข้อมูลสารสนเทศและกระบวนการหลักทางด้านไอที

0 Comments:

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]

<< Home